“ความมั่นคงทางอาหาร” เป็นอีกหนึ่งปัญหาความมั่นคงที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญ
ข่าวอาหาร จำเป็นต้องผนึกกำลังสร้างมาตรการรับมือกับความท้าทายดังกล่าว สำหรับประเทศไทยเอง แม้เราจะเป็นประเทศที่เป็นฐานในการผลิตอาหารและมีวัตถุดิบที่หลากหลายแต่ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดลง ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศได้ ทั้งในระดับอุตสาหกรรมและครัวเรือน ยิ่งในปี 2565 นอกจากภาวะเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 13 ปี ราคาวัตถุดิบเพื่อนำไปประกอบอาหารสูงขึ้นแล้ว ความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในฐานะผู้นำธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหารครบวงจรและเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารชั้นนำระดับโลก “บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ” ตระหนักและมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความมั่นคงทางอาหาร (Food Security) ของประเทศและของโลกนายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาความยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์เป็น “ครัวของโลกที่ยั่งยืน “ ตระหนักดีว่าต้นทางการผลิตอาหารต้องพึ่งพิงความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ดังนั้น การสร้างความมั่นคงทางอาหาร จึงเป็นหน้าที่สำคัญที่ซีพีเอฟ ต้องมีส่วนร่วมในการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการอนุรักษ์ฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของ ดิน น้ำ ป่า โดยบริษัทฯให้ความสำคัญตลอดกระบวนการผลิตต้นน้ำถึงปลายน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซีพีเอฟ มุ่งมั่นสร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action ที่สามารถตอบโจทย์เป้าหมาย SDGs ได้ครบทั้ง 17 ประการ รวมทั้งสอดรับกับเป้าหมายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และช่วยยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
อาทิ การจัดหาอย่างรับผิดชอบต่อโลก การบริหารทรัพยากรที่เป็นเลิศ เคารพสิทธิมนุษยชนและแรงงานตลอดห่วงโซ่อุปทาน ส่งเสริมคู่ค้าธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานตามหลักสากลในด้านสิทธิมนุษยชน การทำการตลาดอย่างรับผิดชอบ เป็นต้น
ข่าวอาหาร การไปสู่เป้าหมายสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ต้องอาศัยความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ที่มองภาพและเห็นเป้าหมายเดียวกัน เพื่อให้เกิดพลังร่วม ที่จะขับเคลื่อนการทำงานไปสู่เป้าหมายดังกล่าวนายวุฒิชัย ขยายความว่า เริ่มต้นจากกระบวนการจัดหาวัตถุดิบอย่างรับผิดชอบต่อโลก ซีพีเอฟดำเนินงานตามความมุ่งมั่นว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและการต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่ามาโดยตลอด และแบ่งปันแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนแก่คู่ค้า ผ่านนโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ เป็นการสร้างพื้นฐานการดำเนินธุรกิจที่มั่นคงบนพื้นฐานของการดูแลสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างเป็นระบบตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อลดผลกระทบ ซึ่งในธุรกิจผลิตอาหารต้องพึ่งพาห่วงโซ่อุปทาน เป็นวงจรที่ใหญ่ และต้องดูแลคู่ค้า ให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกันเช่นเดียวกับในกระบวนการผลิตภายใต้เป้าหมายความยั่งยืน ซีพีเอฟ ดำเนินธุรกิจเชิงรุกมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) โดยได้กำหนดแนวปฏิบัติในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาปรับกระบวนการผลิต ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนพัฒนาผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ สร้างโรงงานและฟาร์มแห่งอนาคต นำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy มาใช้ บริหารจัดการทั้งกระบวนการให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าสูงสุด และลดการใช้ที่ไม่จำเป็น ทั้งเรื่องเชื้อเพลิง พลังงาน การจัดการขยะอาทิ โครงการนำระบบไบโอแก๊ส (Biogas) มาเปลี่ยนมูลสัตว์เป็นพลังงานทดแทนของสายธุรกิจสุกร ที่สามารถเป็นต้นแบบที่ดี (Best Practice) ให้กับฟาร์มและโรงงานอื่นๆ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการนำหลักเศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) หรือ BCG มาใช้ ซึ่งปัจจุบันฟาร์มสุกรของซีพีเอฟทั้ง 98 แห่ง ใช้พลังงานจากก๊าซชีวภาพ มาเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้าในฟาร์ม ลดต้นทุนด้านไฟฟ้าได้ถึง 50-80% ของค่าไฟทั้งหมด
แนะนำข่าวอาหาร อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ‘สมบูรณ์โภชนา’ จากร้านเล็ก ๆ ที่พยายามหาความพิเศษเพื่อแจ้งเกิด สู่ร้านอาหารระดับตำนาน